บรรพต พิจิตรกำเนิด, บรรณารักษ์, ชุนชวนคลิก, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, SDU, Suan Dusit University, นักสารสนเทศ, Chun, ChunChuanClick, Bunpod Pijitkamnerd, Metaverse, เมตาเวิร์ส, ไอทีง่ายๆ

เกมการ์ด Bibli-Omino

การ์ดที่มีอยู่ในเกม Bibli-Omino แบ่งออกเป็น 11 กลุ่ม และมีคุณสมบัติ ดังนี้
Download คู่มือเกม

1. การ์ดผู้แต่ง

การ์ดผู้แต่งทั่วไป
ผู้แต่ง - ทั่วไป

การเล่นเกมสามารถใช้การ์ดนี้ได้ทันที

การ์ดผู้แต่งที่มีตำแหน่ง
ผู้แต่ง - มีตำแหน่งหน้าที่

การเล่นเกมจะใช้การ์ดนี้ได้ ต้องมี การ์ดยางลบ ใช้ตัดตำแหน่งหน้าที่ออก ควบคู่ด้วยเสมอ (สามารถลงได้ 2 การ์ด)

การ์ดผู้แต่งที่มีราชทินนาม
ผู้แต่ง - มีราชทินนาม

การเล่นเกมจะใช้การ์ดนี้ได้ ต้องมี การ์ดสลับที่ ระหว่างชื่อและราชทินนาม ควบคู่ด้วยเสมอ (สามารถลงได้ 2 การ์ด)

การ์ดผู้แต่งที่มีตำแหน่ง และราชทินนาม
Card Title

การเล่นเกมจะใช้การ์ดนี้ได้ ต้องมี การ์ดยางลบ และ การ์ดสลับที่ ควบคู่ด้วยเสมอ (สามารถลงได้ 3 การ์ด)

2. การ์ดปีเผยแพร่

การ์ดปีเผยแพร่
ปี พ.ศ.

สามารถใช้การ์ดนี้ได้กับบรรณานุกรมที่เป็น หนังสือ เท่านั้น

การ์ดเดือน ปี
เดือน ปี พ.ศ.

สามารถใช้การ์ดนี้ได้กับบรรณานุกรมที่เป็น บทความวารสาร และ เว็บไซต์

3. การ์ดชื่อหนังสือ / ชื่อวารสาร

การ์ดชื่อหนังสือ
ชื่อหนังสือ

เป็นการ์ดที่ให้ข้อมูล “ชื่อหนังสือ” ซึ่งสามารถใช้ควบคู่ การ์ดอักษรตัวเอียง มาทำให้ข้อมูลถูกต้องขึ้นได้ (สามารถลงได้ 2 การ์ด)

การ์ดชื่อวารสาร
ชื่อวารสาร

เป็นการ์ดที่ให้ข้อมูล “ชื่อวารสาร” ซึ่งสามารถใช้ควบคู่ การ์ดอักษรตัวเอียง มาทำให้ข้อมูลถูกต้องขึ้นได้ (สามารถลงได้ 2 การ์ด)

4. การ์ดชื่อบทความ

ใช้กับบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เท่านั้น ...
ชื่อบทความ
ชื่อบทความ

เป็นการ์ดที่ให้ข้อมูล “ชื่อบทความ” สามารถใช้การ์ดนี้กับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น บทความวารสาร หรือ เว็บไซต์ ได้เท่านั้น

5. การ์ดปีที่ / ฉบับที่

ใช้กับบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เท่านั้น ...
ปีที่/ฉบับที่
ปีที่/ฉบับที่

เป็นการ์ดที่ให้ข้อมูล “ปีที่” และ “ฉบับที่” ที่มีการเผยแพร่ สามารถใช้การ์ดนี้กับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น บทความวารสาร เท่านั้น

6. การ์ดครั้งที่พิมพ์

ใช้กับบรรณานุกรมหนังสือ เท่านั้น ...
ครั้งที่พิมพ์
ครั้งที่พิมพ์

เป็นการ์ดที่บอกถึง “จำนวนครั้งที่พิมพ์เผยแพร่” สามารถใช้การ์ดนี้กับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น หนังสือ เท่านั้น 

7. การ์ดจังหวัด (สถานที่พิมพ์)

ใช้กับบรรณานุกรมหนังสือ เท่านั้น ...
ชื่อจังหวัด
ชื่อจังหวัด

เป็นการ์ดที่ให้ข้อมูล “สถานที่พิมพ์” โดยสำหรับบรรณานุกรมภาษาไทยให้ระบุเป็นชื่อจังหวัด สามารถใช้การ์ดนี้กับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น หนังสือ เท่านั้น

หากผู้เล่นมี การ์ดเชื่อมโยง (ม.ป.ท.) สามารถใช้ทดแทนการ์ดจังหวัดได้ 

8. การ์ดสำนักพิมพ์

ใช้กับบรรณานุกรมหนังสือ เท่านั้น ...
โรงพิมพ์
โรงพิมพ์

การเขียนบรรณานุกรมจะใช้ชื่อของโรงพิมพ์นั้นเลย 

สำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์

การเขียนบรรณานุกรมจะใช้เฉพาะชื่อของสำนักพิมพ์ เท่านั้น ดังนั้นจะใช้การ์ดนี้ได้ ต้องมี การ์ดยางลบ ควบคู่ด้วยเสมอ
(สามารถลงได้ 2 การ์ด)

บริษัท .. จำกัด
บริษัท .. จำกัด

การเขียนบรรณานุกรมจะใช้เฉพาะชื่อของสำนักพิมพ์เท่านั้น ดังนั้นจะใช้การ์ดนี้ได้ ต้องมี การ์ดยางลบ ควบคู่ด้วยเสมอ
(สามารถลงได้ 2 การ์ด)

ห้างหุ้นส่วน .. จำกัด
ห้างหุ้นส่วน .. จำกัด (มหาชน)

การเขียนบรรณานุกรมจะใช้เฉพาะชื่อของสำนักพิมพ์เท่านั้น ดังนั้นจะใช้การ์ดนี้ได้ ต้องมี การ์ดยางลบ ควบคู่ด้วยเสมอ
(สามารถลงได้ 2 การ์ด)

9. การ์ดเลขหน้า

ใช้กับบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เท่านั้น ...
เลขหน้า
เลขหน้า

เป็นการ์ดที่บอก “ช่วงของเนื้อหา” ใช้สำหรับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น บทความวารสาร เท่านั้น

10. การ์ด URL

ใช้กับบรรณานุกรม Website เท่านั้น ...
URL
URL

เป็นการ์ดที่ระบุถึง “URL” ซึ่งเป็นที่ตั้งของเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์ ใช้สำหรับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น เว็บไซต์ เท่านั้น

11. การ์ดพิเศษ

เป็นการ์ดที่ใช้คู่กับการ์ดอื่น ๆ
และ
และ

เป็นการ์ดที่ใช้สำหรับเชื่อมการ์ดผู้แต่งที่มี 2 คน โดยสามารถใช้เชื่อมระหว่างผู้แต่งก่อนคนสุดท้าย
ตัวอย่าง .. และ ผู้แต่งคนสุดท้าย
(สามารถลงได้ 2 การ์ด)

มปพ
ม.ป.พ.

เป็นการ์ดที่ใช้ทดแทนการ์ดสำนักพิมพ์ กรณีที่ไม่สามารถระบุสำนักพิมพ์ที่พิมพ์เผยแพร่ได้แน่นอน ใช้สำหรับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น หนังสือ เท่านั้น

มปท
ม.ป.ท.

เป็นการ์ดที่ใช้ทดแทนการ์ดจังหวัด กรณีที่ไม่สามารถระบุจังหวัดที่ตั้งสำนักพิมพ์ที่พิมพ์เผยแพร่ได้แน่นอน ใช้สำหรับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น หนังสือ เท่านั้น

มปป
ม.ป.ป.

เป็นการ์ดที่ใช้ทดแทนการ์ดปีเผยแพร่ กรณีที่ไม่สามารถระบุปีที่เผยแพร่ได้แน่นอน

มปป
จุลภาค หรือ คอมม่า

เป็นการ์ดที่ใช้สำหรับเชื่อมการ์ดผู้แต่งที่มีมากกว่า 2 คนขึ้นไป โดยสามารถใช้เชื่อมระหว่างผู้แต่งคนแรก ไปจนถึงผู้แต่งก่อนคนสุดท้าย นอกจากนี้ , ยังใช้เชื่อมการ์ดชื่อวารสาร และใช้เชื่อมการ์ดปีที่/ฉบับที่ ได้อีกด้วย

มปป
ทวิภาค หรือ โคลอน

เป็นการ์ดที่ใช้สำหรับเชื่อมการ์ดจังหวัด และ การ์ดสำนักพิมพ์ ใช้สำหรับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น หนังสือ เท่านั้น

มปป
เข้าถึงได้จาก

เป็นการ์ดที่ใช้เชื่อมระหว่างการ์ดชื่อบทความ และการ์ด URL ใช้สำหรับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น เว็บไซต์ เท่านั้น

มปป
ยางลบ

เป็นการ์ดที่ ใช้ควบคู่กับการ์ดผู้แต่ง ที่มีตำแหน่งหน้าที่ เพื่อตัดตำแหน่งหน้าที่ออก ใช้เพียงชื่อ นามสกุลเท่านั้น
(สามารถลงได้ 2 การ์ด)

มปป
สลับที่

เป็นการ์ดที่ใช้ควบคู่กับการ์ดผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ เป็นการสลับที่เอาชื่อ นามสกุลขึ้นหน้า คั่นด้วยเครื่องหมาย , แล้วจึงตามด้วยราชทินนาม
(สามารถลงได้ 2 การ์ด)

มปป
อักษรเอียง

เป็นการ์ดที่ใช้ควบคู่กับการ์ดชื่อหนังสือ หรือ การ์ดชื่อวารสาร เพื่อทำให้ทราบว่าข้อมูลนั้น ๆ เป็นชื่อหนังสือ หรือ ชื่อวารสาร
(สามารถลงได้ 2 การ์ด)

เกมการ์ด Bibli-Omino จะชวนให้ผู้เรียนเรียนรู้การเขียนอ้างอิงทรัพยากรสารสนเทศ 3 ประเภท ได้แก่

หนังสือ / บทความวารสาร / เว็บไซต์

หนังสือ

  • กรณีผู้แต่ง 1 คน
              | ผู้แต่ง. (ปีเผยแพร่). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). จังหวัด : สำนักพิมพ์.
  • กรณีผู้แต่ง 2 คน
              | ผู้แต่ง1 และ ผู้แต่ง2. (ปีเผยแพร่). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). จังหวัด : สำนักพิมพ์.
  • กรณีผู้แต่งมากกว่า 2 คน
              | ผู้แต่ง1, ผู้แต่ง2, .. และ ผู้แต่งคนสุดท้าย. (ปีเผยแพร่). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). จังหวัด : สำนักพิมพ์.
  • กรณีไม่ปรากฏข้อมูลผู้แต่ง
              | ชื่อหนังสือ. (ปีเผยแพร่). (ครั้งที่พิมพ์). จังหวัด : สำนักพิมพ์.

บทความวารสาร

  • กรณีผู้แต่ง 1 คน
              | ผู้แต่ง. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.
  • กรณีผู้แต่ง 2 คน
              | ผู้แต่ง1 และ ผู้แต่ง2. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.
  • กรณีผู้แต่งมากกว่า 2 คน
              | ผู้แต่ง1, ผู้แต่ง2, .. และ ผู้แต่งคนสุดท้าย. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.
  • กรณีไม่ปรากฏข้อมูลผู้แต่ง
              | ชื่อบทความ. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.

เว็บไซต์

  • กรณีผู้แต่ง 1 คน
              | ผู้แต่ง. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อบทความ. เข้าถึงได้จาก URL
  • กรณีผู้แต่ง 2 คน
              | ผู้แต่ง1 และ ผู้แต่ง2. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อบทความ. เข้าถึงได้จาก URL
  • กรณีผู้แต่งมากกว่า 2 คน
              | ผู้แต่ง1, ผู้แต่ง2, .. และ ผู้แต่งคนสุดท้าย. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อบทความ. เข้าถึงได้จาก URL
  • กรณีไม่ปรากฏข้อมูลผู้แต่ง
              | ชื่อบทความ. (เดือน ปีเผยแพร่). เข้าถึงได้จาก URL

© Copyright 2022 Bunpod P. - All Rights Reserved

Website Software